ลาทีปีเก่า๒๕๕๖...สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๗ ..สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงชัย..ยินดีต้อนรับ..ทุกท่านที่มาเยือน...

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รวมภาพหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจควบคุมโรคระบาดสัตว์(กระบือ)

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ได้รับแจ้งจากเจ้าของกระบือว่ามีกระบือป่วยและตายบริเวณปางควายที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะหนองหลวงพื้นที่บ้านสมานมิตร ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย เจ้าหน้าที่รีบเดิน...ทางเข้าตรวจสอบและให้การรักษา เก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการ และระดมทีมสัตวแพทย์ สัตวบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าควบคุมโรคและหาสาเหตุของการตายของกระบือในครั้งนี้ โดยห้ามการเคลื่อนย้ายกระบือและซากกระบืออกจากจุดเกิดโรค ฝั่งซากกระบือที่ตายตามระเบียบขอกรมปศุสัตว์ ทีมปฏิบัติงานสัตวแพทย์แบ่งทีมสองทีม(เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ18 อำเภอในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ทีมสัตวแพทย์จากสำนักงานปศุสัตว์เขต5 จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มด่านกักกันสัตว์ที่5 จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาระบบงานระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์)คือทีมรักษาสัตว์ป่วย และทีมป้องกันโรคในสัตว์ปกติ โดยทั้งสองทีมอยู่ภายใต้การบัญชาการของนายวิทยา จินตนาวัฒน์ ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ภายใต้การอำนวยการอย่างใกล้ชิดของนายสมศักดิ์ คณาคำ นายอำเภอเวียงชัย นายสุระ สุขใสปศุสัตว์อำเภอเวียงชัย และเทศบาลตำบลดอนศิลา โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนบน อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ส่งทีมนายสัตวแพทย์เข้าชันสูตรพื้นที่จุดเกิดโรค ทำการเก็บตัวอย่างอวัยวะกระบือ เก็บตัวอย่างซีรั่ม เก็บตัวอย่างน้ำไขข้อ และสวอปเก็บเนื้อเยื่อบริเวณกระพุ้งแก้มกระบือ ทีมป้องกันได้ทำการฉีดยาปฏิชีวนะในกระบือและโคที่ยังไม่แสดงอาการทุกตัวในรัศมี5กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรคตัว1 เข็มวันละครั้งต่อเนื่องกันอย่างน้อง3วันและฉีดวัคซีนในวันที่3 และฉีดยาปฏิชีวนะต่ออีกสองเข็มรวมเป็นห้าเข็มห้าวันต่อเนื่อง รวมโคกระบือที่ได้รับการฉีดยาปฏิชีวนะและวัคซ๊นป้องกันโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมียประมาณ 800 ตัว รอบพื้นที่หนองหลวง กินพื้นที่อำเภอเวียงชัยและอำเภอเมืองเชียงราย ผลการชันสูตรจากห้องปฏิบัติการพบว่ากระบือที่ล้มตายป่วยเป็นโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมียหรือโรคคอบวมหรือโรคคอดัง ซึ่งกระบือที่ตายก่อนหน้านี้ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อนเลย เนื่องจากเจ้าของไม่ยอมฉีดวัคซีน อาจเนื่องมาจากเป็นควายเลี้ยงปล่อย ไม่มีสนตะพาย จับยาก ไม่มีซองหรือคอกที่แข็งแรง ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่สำคัญของเจ้าของและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นการสูญเสียของทุกฝ่าย เจ้าของสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้จำนวนมาก ฝ่ายราชการต้องทุ่มงบประมาณและกำลังเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังจุดอื่นๆ ระหว่างการเข้าควบคุมโรคท่านรองอธิบดีกรมปศุสัตว์(น.สพ.สรวิธ ธานีโต)และผู้อำนวยการสำนักควบคุมป้องกันโรคสัตว์(น.สพ.วิริยะ แก้วทอง) ท่านปศุสัตว์เขต 5(น.สพ.ไพโรจน์ เฮงแสงชัย)เข้าพื้นที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีมสัตวแพทย์ในพื้นที่ สถานการณ์จนถึงวันนี้ 15 พย.57 ไม่มีกระบือป่วยเพิ่มอีก และกระบือทุกตัวได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมียเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ต่อไปและตัวป่วยตัวสุดท้ายหายป่วยนับไปอีกสี่สัปดาห์จึงจะถือว่าโรคสงบแล้ว เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาอีกประมาณสองถึงสามอาทิตย์ กระบือถึงจะมีภูมิคุ้มกันโรคหลังฉีดวัคซีน วันนี้ 15 พย.57 ทีมสัตวแพทย์สองทีมเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน มอบภาระกิจให้อำเภอเวียงชัยเฝ้าระวังโรคในพื้นที่อย่างใกล้ชิดต่อไป สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ต้องขอบคุณเครื่อข่ายการทำงานทุกหน่วยงานทุกๆท่าน ที่ร่วมมือร่วมใจรวมพลังควบคุมโรคจนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้






จบภารกิจปฏิบัติการณ์ควบคุมป้องกันรักษาการระบาดของโรคเฮโมรายิกเชพติซีเมียพื้นที่อำเภอเวียงชัยและอำเภอเมืองเชียงราย ใช้เวลาปฏิบัติภารกิจ 2 อาทิตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น