ลาทีปีเก่า๒๕๕๖...สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๗ ..สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงชัย..ยินดีต้อนรับ..ทุกท่านที่มาเยือน...

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ท่านรองอธิบดีกรมปศุสัตว์(นายวีรชาติ เขื่อนรัตน์)ตรวจเยี่ยม อ. เวียงชัย จ. เชียงราย

วันที่ 11 พฤศจิกายน  2559 เวลา 14.00 น.ท่านรองอธิบดีกรมปศุสัตว์(นายวีรชาติ เขื่อนรัตน์) ได้มาติดตามสุ่มตรวจรายเกษตรกรจากฐานข้อมูลการบันทึกข้อมูลประชากรสัตว์รายครัวเรือนในระดับพื้นที่ทที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง นายทวี ดอนศรีเทพ  และอำเภอเวียงชัย ว่ามีความถูกต้องและความเคลื่อนไหวของข้อมูล

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ตรวจประเมินสนามชนไก่



8 พ.ย.2559 คณะกรรมการตรวจประเมินสนามชนไก่ อำเภอเวียงชัย  ออกตรวจประเมินสนามชนไก่  ที่บ้านเมืองชุม บ้านใหม่เมืองชุมและบ้านทุ่งยั้ง อำำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

การประกวดไก่ชนงาน๔๐ปีของดีเวียงชัยประจำปี๒๕๕๘


วันที่ 13 มกราคม 2558 นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นประธานในการเปิดงาน 40 ปีของดีเวียงชัย ปี 2558 ที่สนามหนองหลวง ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงรายโดยมีนายสมศักดิ์ คณาคำ นายอำเภอเวียงชัยนำส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและประชาชนเข้าร่วม โดยงานดังกล่าวมีขึ้นเนื่องในโอกาสที่ทาง อ.เวียงชัย ได้มีการแยกการปกครองในระดับกิ่งอำเภอออกมาจาก อ.เมืองเชียงราย เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2517 ด้วยการยกระดับ ต.เวียงชัย ต.ทุ่งก่อ และ ต.ผางาม ที่อยู่ในเขต อ.เมืองเชียงราย เดิมให้เป็น อ.เวียงชัย ต่อมาวันที่ 25 มีนาคม 2522 จึงได้ยกฐานะขึ้น
อีกเป็น อ.เวียงชัย ในที่สุด
 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงชัย จัดการประกวดไก่ชนงาน๔๐ปีของดีเวียงชัยประจำปี๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๘ โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะชมรมไก่ชนอำเภอเวียงชัย ที่ประชาสัมพันธ์นำไก่เข้าประกวดและจัดโล่ห์รางวัล  หน่วยงานท้องถิ่นท้องที่สนับสนุนเงินรางวัลผ่านสำนักงานอำเภอ คณะกรรมการตัดสินจากทีมงานของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายและสำนักงานปศุสัตว์เขต ๕ มีการประกวดอยู่ ๒ ประเภทคือไก่สายพันธ์ุพม่า และไก่พื้นเมืองไทยทั่วไป ในงานมีนิทรรศการโชว์ควายพันธ์ุดี ไก่ไร้ขน และสินค้าการเกษตรมากมาย ของดีโอทอปที่ผลิตจากท้องถิ่นแต่ละอำเภอ


































วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รวมภาพหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจควบคุมโรคระบาดสัตว์(กระบือ)

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ได้รับแจ้งจากเจ้าของกระบือว่ามีกระบือป่วยและตายบริเวณปางควายที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะหนองหลวงพื้นที่บ้านสมานมิตร ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย เจ้าหน้าที่รีบเดิน...ทางเข้าตรวจสอบและให้การรักษา เก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการ และระดมทีมสัตวแพทย์ สัตวบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าควบคุมโรคและหาสาเหตุของการตายของกระบือในครั้งนี้ โดยห้ามการเคลื่อนย้ายกระบือและซากกระบืออกจากจุดเกิดโรค ฝั่งซากกระบือที่ตายตามระเบียบขอกรมปศุสัตว์ ทีมปฏิบัติงานสัตวแพทย์แบ่งทีมสองทีม(เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ18 อำเภอในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ทีมสัตวแพทย์จากสำนักงานปศุสัตว์เขต5 จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มด่านกักกันสัตว์ที่5 จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาระบบงานระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์)คือทีมรักษาสัตว์ป่วย และทีมป้องกันโรคในสัตว์ปกติ โดยทั้งสองทีมอยู่ภายใต้การบัญชาการของนายวิทยา จินตนาวัฒน์ ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ภายใต้การอำนวยการอย่างใกล้ชิดของนายสมศักดิ์ คณาคำ นายอำเภอเวียงชัย นายสุระ สุขใสปศุสัตว์อำเภอเวียงชัย และเทศบาลตำบลดอนศิลา โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนบน อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ส่งทีมนายสัตวแพทย์เข้าชันสูตรพื้นที่จุดเกิดโรค ทำการเก็บตัวอย่างอวัยวะกระบือ เก็บตัวอย่างซีรั่ม เก็บตัวอย่างน้ำไขข้อ และสวอปเก็บเนื้อเยื่อบริเวณกระพุ้งแก้มกระบือ ทีมป้องกันได้ทำการฉีดยาปฏิชีวนะในกระบือและโคที่ยังไม่แสดงอาการทุกตัวในรัศมี5กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรคตัว1 เข็มวันละครั้งต่อเนื่องกันอย่างน้อง3วันและฉีดวัคซีนในวันที่3 และฉีดยาปฏิชีวนะต่ออีกสองเข็มรวมเป็นห้าเข็มห้าวันต่อเนื่อง รวมโคกระบือที่ได้รับการฉีดยาปฏิชีวนะและวัคซ๊นป้องกันโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมียประมาณ 800 ตัว รอบพื้นที่หนองหลวง กินพื้นที่อำเภอเวียงชัยและอำเภอเมืองเชียงราย ผลการชันสูตรจากห้องปฏิบัติการพบว่ากระบือที่ล้มตายป่วยเป็นโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมียหรือโรคคอบวมหรือโรคคอดัง ซึ่งกระบือที่ตายก่อนหน้านี้ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อนเลย เนื่องจากเจ้าของไม่ยอมฉีดวัคซีน อาจเนื่องมาจากเป็นควายเลี้ยงปล่อย ไม่มีสนตะพาย จับยาก ไม่มีซองหรือคอกที่แข็งแรง ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่สำคัญของเจ้าของและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นการสูญเสียของทุกฝ่าย เจ้าของสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้จำนวนมาก ฝ่ายราชการต้องทุ่มงบประมาณและกำลังเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังจุดอื่นๆ ระหว่างการเข้าควบคุมโรคท่านรองอธิบดีกรมปศุสัตว์(น.สพ.สรวิธ ธานีโต)และผู้อำนวยการสำนักควบคุมป้องกันโรคสัตว์(น.สพ.วิริยะ แก้วทอง) ท่านปศุสัตว์เขต 5(น.สพ.ไพโรจน์ เฮงแสงชัย)เข้าพื้นที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีมสัตวแพทย์ในพื้นที่ สถานการณ์จนถึงวันนี้ 15 พย.57 ไม่มีกระบือป่วยเพิ่มอีก และกระบือทุกตัวได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมียเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ต่อไปและตัวป่วยตัวสุดท้ายหายป่วยนับไปอีกสี่สัปดาห์จึงจะถือว่าโรคสงบแล้ว เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาอีกประมาณสองถึงสามอาทิตย์ กระบือถึงจะมีภูมิคุ้มกันโรคหลังฉีดวัคซีน วันนี้ 15 พย.57 ทีมสัตวแพทย์สองทีมเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน มอบภาระกิจให้อำเภอเวียงชัยเฝ้าระวังโรคในพื้นที่อย่างใกล้ชิดต่อไป สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ต้องขอบคุณเครื่อข่ายการทำงานทุกหน่วยงานทุกๆท่าน ที่ร่วมมือร่วมใจรวมพลังควบคุมโรคจนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้






จบภารกิจปฏิบัติการณ์ควบคุมป้องกันรักษาการระบาดของโรคเฮโมรายิกเชพติซีเมียพื้นที่อำเภอเวียงชัยและอำเภอเมืองเชียงราย ใช้เวลาปฏิบัติภารกิจ 2 อาทิตย์